โครงสร้างทีมคุณภาพ
ความ เป็นทีมนั้นจากต้องเริ่มต้นจากผู้บริหารระดับสูง ลงมาสู่ผู้บริหารระดับกลาง และลงไปสู่ปฏิบัติงานในที่สุดทีมนั้นจะประกอบด้วย ทีมผู้บริหารระดับสูงเปรียบเสมือนผู้ที่ถือบังเหียน (Steering-Level Committee) ทีมผู้บริหารระดับกลางเป็นทีมผู้บริหารคุณภาพ (Quality Management Team) และคนทำงาน หรือผู้ปฏิบัติการนั้นเป็นทีมปฏิบัติการ ที่เป็นเหมือนฝันเฟืองที่ผลักดันให้กระบวนการทำงาน (Operational Team) เมื่อทั้งสามระดับต้องเชื่อมโยงกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาภายใต้วงจรคุณภาพของ Deming ตามบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบของตนเอง
ทีมผู้บริหารระดับสูง (Steering-Level Committee)
เป็นตัวแทนผู้บริหารระดับสูง ซึ่งประกอบด้วย M.D. และ ผู้จัดการฝ่ายต่างๆ ทีมผู้บริหารระดับสูงนี้จะต้องนำข้อมูลทั้งจากภายนอก (เช่น ลูกค้า, เศรษฐกิจ, การเมือง, สังคม ฯลฯ) และข้อมูลภายใน (เช่น ข้อมูลทางการเงิน, กระบวนการทำงาน ฯลฯ) มาประกอบการตัดสินใจเพื่อพัฒนา และกำหนดเป็นแผนยุทธศาสตร์ เพื่อ
ให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร โดยกระจายแผนยุทธศาสตร์นั้นสู่ทีมบริหารคุณภาพ
ซึ่งผู้จัดการฝ่ายต่างๆ
ที่อยู่ในทีมผู้บริหาระดับสูงจะต้องรับผิดชอบแผนยุทธศาสตร์ตามที่ได้รับ
เหมาะหมาย
และจะต้องบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยแผนยุทธศาสตร์นั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตาม
สถานะการ และเหมาะสม
ทีมผู้บริหารคุณภาพ (Quality Management Team)
ทีมนี้เป็นทีมคุณภาพซึ่งบริหารงานแบบข้ามสายงาน (Cross Functional Team) ซึ่ง
ผู้จัดการฝ่ายซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงซึ่งมีส่วนในการกำหนดยุทธศาสตร์เข้า
มาเป็นผู้นำตามบทบาทหน้าที่ที่ถูกกำหนดตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อบรรลุเป้าหมาย
ของทีมซึ่งตอบสนองเป้าหมายองค์กรทีมผู้บริหารคุณภาพจะนำทักษะ (Skill) ที่
ตนมีอยู่นั้นมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับกระบวน และมีคุณค่าแก่สมาชิกในทีมอื่นๆ
เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ของฝ่ายจะถูกกระจายสู่ทีมผู้ปฏิบัติงาน (ฝ่าย)
ให้สามารถทำงานได้ และก่อให้เกิดการทำงานที่มีคุณภาพ
และนำไปสู่การปรับเปลี่ยน หรือลดกระบวนการทำงาน
รวมถึงขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จในที่สุด
ทีมปฏิบัติการ(Operational Team)
หมาย
ถึง บุคลากรที่ทำงานตามหน้าที่ของตนตามกระบวนการทำงานที่ถูกกำหนดไว้แล้ว
เพื่อบรรลุซึ่งเป้าหมายของทีมซึ่งฝ่ายของตนเป็นสมาชิกอยู่ในทีมคุณภาพนั้นๆ บุคลากร
ทุกคนในองค์กรมีหน้าที่รวบรวม, วิเคราะห์,
และสรุปข้อมูลเบื้องต้นส่งเข้าทีมคุณภาพเพื่อให้แก้ไขปัญหา
หรือเพื่อพัฒนาต่อยอดต่อไป บุคลากรทุกคนจะต้องทำงานตามบทบาท, หน้าที่
และกระบวนการของตนอย่างเคร่งครัด แต่เมื่อใดต้องการปรับเปลี่ยน
ไม่ว่าจะเป็น บทบาท, หน้าที่ หรือกระบวนการ
ทีมปฏิบัติการจำเป็นจะเป็นต้องส่งเรื่องเข้าทีมเพื่อทำการตัดสินใจ
ส่วนทีมผู้บริหารระดับสูงจะต้องทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา
และสนับสนุนให้เกิดการสร้างความรู้ และความเข้าใจ
รวมถึงการสนับสนุนด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกำลังคน
เครื่องไม้เครื่องมือ การจัดการ หรือแม้กระทั่งเงิน
เพื่อให้เกิดการทำงานเป็นทีมที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพ
โดยเฉพาะการเรียนจะต้องมีการกำหนดเมทริกซ์ในการเรียนรู้ที่ชัดเจนตามระดับ
ขั้นของบุคลากรแต่ละคนและจะต้องวัดผลได้
การ
พัฒนาคุณภาพจะถูกจัดการผ่านโครงสร้างทีมเหล่านี้เพื่อตอบสนองเป้าขององค์กร
สายการบังคับบัญชาจะต้องนำไปสู่การพัฒนาทั้งกระบวนการทำงาน
และการบริหารจัดการ ดังนั้น
ผู้นำในแต่ละทีมจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างความชัดเจนในทุกเรื่องที่มีผล
กระทบต้องเป้าหมายของทีม
กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อบุคลากรในให้ความสำคัญ
ต่อเป้าหมายของทีม ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเป้าหมายขององค์กร
ดังนั้นบุคลากรทุกคนต้องถูกให้ความรู้ในเรื่องการให้ความสำคัญต่อเป้าหมาย
ทีมมาก่อนเป้าหมายของตนเอง
หรือให้ความสำคัญเฉพาะงานที่ตนเองทำอยู่เป็นประจำเท่านั้น
- ตอนที่ 1 : บทนำ
- ตอนที่ 2 : Cross Functional Team คือ อะไร?
- ตอนที่ 3 : ประโยชน์ของการบริหารงานแบบ Cross Functional Team
- ตอนที่ 4 : อุปสรรคที่ทำให้ระบบ Cross Functional Team ไม่ประสบความสำเร็จ
- ตอนที่ 5 : ระบบวงจร คุณภาพ PDCA จากหลักการสู่วิธีการปฏิบัติ และสร้างทีมคุณภาพ ตอนที่1
- ตอนที่ 6 : ระบบวงจร คุณภาพ PDCA จากหลักการสู่วิธีการปฏิบัติ และสร้างทีมคุณภาพ ตอนที่2
- ตอนที่ 7 : ระบบวงจร คุณภาพ PDCA จากหลักการสู่วิธีการปฏิบัติ และสร้างทีมคุณภาพ ตอนที่3
- ตอนที่ 8 : ระบบวงจร คุณภาพ PDCA จากหลักการสู่วิธีการปฏิบัติ และสร้างทีมคุณภาพ ตอนจบ
- ตอนที่ 9 : วิถีทางสู่การสร้างทีม ตอนที่1: การสร้างกระบวนการจัดการที่มีคุณภาพ
- ตอนที่ 10 : วิถีทางสู่การสร้างทีม ตอนจบ: การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน
- ตอนที่ 11 : โครงสร้างบริหารองค์กรที่ทำงานแบบทีมคุณภาพ
- ตอนที่ 12 : โครงสร้างทีมคุณภาพ
- ตอนที่ 13 : คุณลักษณะสำคัญของทีม บนทฤษฎีลูกข่าง
- ตอนที่ 14 : ภาวะผู้นำ กับ วงล้อคุณภาพ PDCA
ผังโครงสร้าง องค์กร บริหาร D-HOUSE BOOK หลักการลดความเสี่ยงทางการวิเคราะห์และผลกระทบทางปัจจัยเสียงทางแผนธุรกิจ
ตอบลบทิศทางนโยบายและแผนงานที่สำคัญของ D-HOUSE BOOK .ใช้ในการสรรหาบุคคล และ การจัดการบุคคล ในการบริหารเพื่อให้ได้ ข้อมูลและผลงานที่ดี ขึ้นทางการวิเคราะห์ โดย ดร.สมัย เหมมั่น