ประวัติการก่อตั้ง D-HOUSE GROUP เพื่อทำงานวิจัยการวิเคราะห์ส่งเสริมและการแก้ปัญหา ธุรกิจอสังหาฯและธุรกิจทั่วไปขององค์กรธุรกิจ ทางเศรษฐกิจ พร้อมเพิ่มกลยุทธ์ การบริหาร กลยุทธ์ การตลาด การเงิน การจัดการธุรกิจ การประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร และการบริหารการจัดการเทคโนโลยี่ ในปัจจุบัน ผลงานวิจัยได้นำไปใช้แก้ปัญหาการประกอบการธุรกิจ อสังหาฯ นอกจากนี้ยังได้เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน maikub01@yahoo.com กลุ่ม ดี-เฮาส์ ประเทศไทย โครงการ อุตสาหกรรม เมืองมหาชัย t. 094-8979-365 ดร.สมัย เหมมั่น
วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
Innovations and Implementation D-HOUSE BOOK: ผังโครงสร้าง องค์กร บริหาร D-HOUSE BOOK หลักการลด...
Innovations and Implementation D-HOUSE BOOK: ผังโครงสร้าง องค์กร บริหาร D-HOUSE BOOK หลักการลด...: ทิศทางนโยบายและแผนงานที่สำคัญของ D-HOUSE BOOK รวมทีมภาคพื้น D-HOUSE ฝ่ายพัฒนาอสังหาฯและศึกษ...
จะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวเรานั้น เหมาะกับการเป็นนักการตลาดหรือไม่ แบบ D-HOUSE BOOK
คุณคือนักการตลาดที่ดีหรือไม่
![]() | จะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวเรานั้น เหมาะกับการเป็นนักการตลาดหรือไม่![]() อย่างที่ John L. Holland เจ้าแห่งทฤษฎีการเลือกอาชีพ กล่าวเอาไว้ถึงคนที่มีความเหมาะสมในอาชีพนักการตลาด ไว้ว่าเป็นพวกที่มีบุคลิกภาพแบบกล้าคิดกล้าทำ (Enterprising) บุคคลในกลุ่มนี้มักมีบุคลิกภาพเป็นคนที่ชื่นชอบการทำกิจกรรมที่มักจะมีอิทธิพลอยู่เหนือผู้อื่น ใช้ทักษะในการพูดจาเยอะ มองเห็นตนเองเป็นผู้นำเต็มตัว เชื่อมั่นในตัวเองสูง ชอบชักจูงผู้อื่นให้เกิดความคล้อยตาม หรือชอบดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตัวเองต้องการ ชอบถกเถียงปัญหาทางการเมือง ชอบอภิปราย พูดจา เป็นคนตรงไปตรงมา กล้าแสดงออก กล้าโต้แย้ง กล้าคิดกล้าทำ กล้าเสี่ยง ชอบการแข่งขัน ทะเยอทะยาน เป็นคนคล่องแคล่วทำอะไรเร็ว ชอบมีความคิดริเริ่มและชอบทำธุรกิจส่วนตัว เรียกว่า ชอบเป็นนายตัวเอง ชอบกิจกรรมชนิดเป็นกลุ่มและองค์กร ชอบขบวนการในการรณรงค์หรือหาเสียง ชอบการบรรยายเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ชอบกิจกรรมที่ต้องเขียนด้วยสำนวนภาษาที่สวยงาม จัดได้ว่าเป็นคนที่มีระบบระเบียบในการดำเนินชีวิต ถือว่าเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในชีวิต ความสามารถมากมาย สมัยเรียนอาจได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมอยู่เรื่อย ๆ เป็นคนที่สามารถควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้อื่นได้ มีความกระตือรือร้น สามารถชักจูงให้บุคคลอื่นมาทำในสิ่งที่ตนเองต้องการได้ ขายสินค้าเก่ง ชอบจัดการ เป็นนักอภิปราย เป็นตัวแทนเจรจาตกลงให้กับกลุ่มหรือองค์กรได้ดี ถ้าคุณคิดว่า ตัวคุณเองมีคุณสมบัติเข้าข่ายตามที่ ทฤษฎีการเลือกอาชีพ แล้วล่ะก็ บอกได้คำเดียวว่า หนทางของการเป็นนักการตลาดมือฉมัง อยู่อีกไม่ไกล |
ทำตัวให้ได้เหมือน อูฐ ปลา หมา และควาย คุณก็จะมีความสุขกับการทำงาน แบบ D-HOUSE
![]() |
![]() | |||
Job info
|
Copyright © 2010 All Rights Reserved. |
ยิ้ม ทักทาย” กลยุทธ์เด็ดพิชิตใจลูกค้า แบบ D-HOUSE
“ยิ้ม ทักทาย”
กลยุทธ์เด็ดพิชิตใจลูกค้า ![]() “ยิ้ม ทักทาย” กลยุทธ์เด็ดพิชิตใจลูกค้า![]() ทักทายด้วยการคำพูด “ สวัสดี” คุณสามารถกล่าวคำ “ สวัสดีค่ะ ” หรือ “ สวัสดีครับ ” ได้กับทุก ๆ คน คำพูดง่าย ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้กับทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่ไม่รู้จักมาก่อน หรือเป็นลูกค้าที่สนิทสนมด้วยแล้วก็ตาม เพราะการทักทายด้วยคำพูดเวลาเจอหน้ากันนั้นย่อมดีกว่าที่เราไม่ได้พูดคุยอะไรกันเลย เพียงแค่คำพูดไม่กี่คำที่ออกจากปากของคุณ จะเป็นเหมือนเชือกร้อยใจให้เกิดการสานต่อ ซึ่งอาจจะเป็นทางด้านธุรกิจต่อไปในอนาคต ทักทายด้วยการ “ไหว้” การฝึกฝนตนเองให้มือไม้อ่อนไว้ก่อนจะดีกว่าค่ะ ยิ่งถ้าคุณจะต้องไปพบเจอกับลูกค้าที่อาวุโสกว่า หรือมีคุณวุฒิมากกว่า หรือเป็นลูกค้าใหม่ที่คุณจะต้องไปทำความรู้จักพวกเขา คุณควรแสดงการทักทายด้วยการไหว้ แบบสองมือพนม การไหว้เป็นกิริยามารยาทที่สุภาพที่เป็นสัญลักษณ์ของคนไทย การไหว้ที่ดีมิใช่สักแต่ว่าจะไหว้ การไหว้ที่ดีนั้นคุณเองควรจะยกมือทั้งสองข้างขึ้นพนม แล้วค่อย ๆ ก้มศีรษะเพื่อเป็นการแสดงความเคารพนอบน้อมบุคคลที่คุณไหว้ด้วย ซึ่งคุณเองจะยิ่งมีเสน่ห์มาก หากคุณไหว้ด้วยพร้อมกับเอ่ยคำทักทายด้วยคำว่า “ สวัสดี ” ทักทายด้วย “ รอยยิ้ม” ยิ้มเท่านั้นที่สามารถชนะใจลูกค้าได้ คนที่มีรอยยิ้มหรือเป็นคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ บ่งบอกได้ว่าเป็นคนที่อารมณ์ดี มองโลกในแง่ดี เป็นบุคคลที่น่าคบหาสมาคมด้วย การผูกมิตรที่ง่ายและสามารถทำได้อีกวิธีการหนึ่งก็คือ การสร้างรอยยิ้มให้เกิดขึ้น ควรจะเป็นการยิ้มแบบออกจากใจจริง ทักทายด้วยการ “ ผงกศีรษะ” การแสดงความต้องการที่จะทักทายผู้อื่น ไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้คำพูดเพียงอย่างเดียว คุณสามารถแสดงกิริยาท่าทางด้วยการผงกศีรษะกับลูกค้าของคุณซึ่งอาจจะเป็นลูกค้าที่ไม่สนิทสนมด้วย รู้จักกันแบบผิวเผิน หรือเคยเห็นหน้า เห็นตากันมาบ้าง นอกจากนี้คุณสามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ที่กำลังรีบเร่ง แต่บังเอิญพบเจอกับลูกค้า ซึ่งตัวคุณเองยังไม่มีเวลาแม้แต่จะกล่าวคำว่าสวัสดี คุณสามารถเลือกใช้การทักทายกับลูกค้าด้วยวิธีการนี้ได้ โดยส่วนใหญ่การทักทายด้วยวิธีนี้จะกระทำควบคู่ไปพร้อมกับการสร้างรอยยิ้ม ทักทายด้วยการ “ ถามถึงเรื่องทั่วๆ ไป” หากคุณรู้จักลูกค้าของตนเองดี รู้ว่าเขาชอบ ไม่ชอบอะไร คุณสามารถนำเรื่องดังกล่าวมาเป็นประเด็นที่จะทักทายเพื่อเริ่มต้นการพูดคุยกับลูกค้าของคุณต่อไปได้ หรือคุณนำเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดมาชี้นำหรือตั้งเป็นประเด็นคำถามเพื่อทักทายลูกค้าที่รู้จักก็ย่อมได้ ทักทายด้วยการ “ ให้ของฝาก” คุณไม่จำเป็นต้องทักทายลูกค้าแบบเผชิญหน้าก็ได้ค่ะ ซึ่งคุณเองสามารถซื้อของฝากเล็ก ๆ น้อย ๆ ฝากใครก็ได้ส่งให้กับลูกค้าของคุณเอง เป็นการผูกใจลูกค้าค่ะ พวกเขาเหล่านั้นไม่ได้ใส่ใจหรือสนใจกับมูลค่าของของฝากที่คุณมอบให้มากนัก แต่สิ่งที่พวกเขาสนใจก็คือ ความเอาใจใส่ที่คุณได้มอบให้มากกว่า เป็นการซื้อใจลูกค้า เพราะอย่างน้อย ๆ ผู้รับจะรู้สึกดีและประทับใจกับของฝากที่คุณมอบให้ ทั้งนี้การซื้อของฝากควรจะพิจารณาให้เหมาะสมกับวาระ โอกาส เหตุการณ์ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ลูกค้าด้วย ในทางกลับกัน หากคุณเป็นฝ่ายที่ถูกทักทายด้วยแล้ว คุณเองควรจะสนองตอบการทักทายนั้นด้วยเช่นกัน จงอย่าปล่อยให้ผู้ทักทายรู้สึกเสียหน้า หรืออับอาย เนื่องจากคุณไม่ยิ้มให้ หรือไม่พูดด้วยเลย เพราะเมื่อเกิดความรู้สึกเช่นที่ว่านี้แล้ว แน่นอนว่าต่อไปบุคคลนั้นอาจจะไม่เข้ามาทักทายคุณอีกต่อไปก็เป็นได้ และเหตุการณ์เช่นที่ว่านี้จะส่งผลต่อสัมพันธภาพที่เกิดขึ้นในทางลบ จงอย่ารอให้ลูกค้าเข้ามาทักทายคุณก่อน การสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า ตัวเราควรจะเป็นฝากรุก รุกเข้าหาลูกค้าเพื่อสานต่อความผูกพัน อันนำมาซึ่งเสน่ห์ที่สามารถสร้างขึ้นมาได้จากการทักทายในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป |
Job info
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)