วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

การบริหารงานก่อสร้าง แบบง่ายๆ



ความรู้ด้านการบริหารจัดการงานก่อสร้าง

และการวางแผนงานก่อสร้างเบื้องต้น


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


การบริหารจัดการงานก่อสร้าง



การบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จภายใต้ขอบเขตงาน งบประมาณ ระยะเวลา และคุณภาพที่กำหนดไว้ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้หลักการบริหารและการจัดการงานก่อสร้างดังนี้

    1. วางแผนงานและแผนกำหนดเวลางานก่อสร้าง (Construction planning and scheduling)
    2. การปฏิบัติงานตามแผนการทำงานที่วางไว้
    3. การปรับแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
    4. การประเมินผลการปฏิบัติงาน





การวางแผนงานก่อสร้าง


การวางแผนงานก่อสร้าง หมายถึง การกำหนดขั้นตอนวิธีการก่อสร้าง การกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานก่อสร้างและการจัดลำดับความสำคัญของงานก่อสร้างที่จะดำเนินการก่อนหรือหลังให้มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กัน เพื่อให้โครงการก่อสร้างแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า แผนงานก่อสร้าง คือแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อให้โครงการก่อสร้างสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

แผนงานก่อสร้างมีความสำคัญต่อโครงการก่อสร้างเป็นอย่างมาก การศึกษาแผนงานก่อสร้างจะทำให้ผู้ควบคุมงานก่อสร้างเข้าใจถึงภาพรวมของโครงการได้อย่างชัดเจน ทราบถึงแนวทางในการปฏิบัติงาน การทำงานส่วนใดที่มีความสำคัญมากหรือน้อยต่อโครงการ การทำงานส่วนใดที่จะต้องดำเนินการก่อนหรือหลังทราบถึงข้อจำกัดทำให้สามารถคาดการณ์ปัญหาหรืออุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เพื่อเตรียมวิธีการป้องกันหรือ แนวทางแก้ไขรวมทั้งช่วยให้ผู้ควบคุมงานก่อสร้างสามารถติดตามตรวจสอบและประเมินผลความก้าวหน้าของโครงการได้อย่างใกล้ชิด



กระบวนการวางแผนงานก่อสร้างประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้

    • การแบ่งส่วนงานก่อสร้าง (Organizing)
    • การกำหนดขั้นตอนและวิธีการก่อสร้าง (Assign Method Statement)
    • การกำหนดระยะเวลางานก่อสร้าง (Scheduling)
    • การจัดลำดับและกำหนดความสัมพันธ์ของงาน

ในที่นี้จะกล่าวถึงแผนงานก่อสร้างระบบตารางเวลา (Bar Chart) ซึ่งเป็นการวางแผนงานก่อสร้างอย่างง่ายที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย

แผนงานระบบตารางเวลา (Bar Chart)

การวางแผนงานระบบตารางเวลาถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ในงานอุตสาหกรรมโดยวิศวกรชาวอเมริกัน ชื่อ Henry L. Gantt (หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Gantt Chart ตามชื่อของผู้คิดค้น) ต่อมาเป็นที่นิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกลักษณะงานโดยเฉพาะงานก่อสร้าง

การวางแผนงานระบบตารางเวลาทำได้โดยการกำหนดงานที่จะต้องทำของทั้งโครงการแทนด้วย แท่งหรือแถบในแนวนอน (Bar) ความสั้น-ยาวของแท่งหรือแถบนี้ จะบ่งบอกถึงระยะเวลาของงานที่จะต้องทำ ความละเอียดของแผนงานระบบตารางเวลาขึ้นอยู่กับการแบ่งส่วนงานว่าต้องการรายละเอียดมากน้อยเพียงใด ข้อดีของการวางแผนงานรูปแบบนี้ คือ แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการดำเนินงานของทั้งโครงการที่สามารถเข้าใจได้โดยง่าย การปรับแผนหรือแก้ไขแผนทำได้ง่ายการนำไปใช้ติดตามความก้าวหน้าของโครงการทำได้สะดวก เนื่องจากสามารถเปรียบเทียบแผนที่วางไว้กับการทำงานจริงได้อย่างชัดเจน แต่ข้อจำกัดของการวางแผนงานรูปแบบนี้ คือ ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่มีขั้นตอนการทำงานสลับซับซ้อนเพราะไม่สามารถแสดงความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนงานย่อยได้ ไม่สามารถบอกได้ว่าโครงการก่อสร้างจะแล้วเสร็จตามแผนที่วางไว้หรือช้า-เร็วว่าแผนงานเพียงใด

รายการ
ระยะเวลาก่อสร้าง (เดือน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
1. เตรียมงานก่อสร้าง


                     
2. หล่อเสาเข็ม , แผงกันดิน


                     
3. ตอกเสาเข็ม King Pile
 


                   
4. ตอกเสาเข็ม Batter Pile
   


                 
5. ติดตั้งแผงกันดิน
       


             
6. ก่อสร้างคานทับหลังเขื่อน ค.ส.ล.
         


           
7. ก่อสร้างผนังกั้นน้ำ ค.ส.ล.
           


         
8. ถมและบดอัดดินหลังเขื่อน
             


       
9. Jet Mixing
                 


   
9. เก็บงาน ทำความสะอาด
                   


 


ภาพที่ 1 แสดงแผนงานก่อสร้างระบบตารางเวลา งานก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. ชนิดสมอยึดหลัง




ประโยชน์ของการวางแผนงานก่อสร้าง พอสรุปได้ดังนี้

    • ใช้ในการควบคุมระยะเวลาการทำงานของแต่ละส่วนงาน เพื่อให้ระยะเวลารวมของ ทั้งโครงการเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
    • ใช้ในการควบคุมงานติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าของโครงการ ช่วยในการพิจารณาแนวทางป้องกันหรือแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในโครงการ
    • ใช้ในการวางแผนจัดสรรทรัพยากรในงานก่อสร้างได้อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา เพื่อไม่ให้งานก่อสร้างหยุดชะงักเนื่องจากขาดทรัพยากรหรือโครงการก่อสร้างต้องขาดทุนเนื่องจากการนำทรัพยากรมาใช้เกินความจำเป็น การจัดสรรทรัพยากรสำหรับผู้ว่าจ้าง ได้แก่ การเตรียมงบประมาณในการก่อสร้าง การจัดสรรทรัพยากรสำหรับผู้รับจ้างได้แก่ แผนการลงทุน การเช่าเครื่องจักร การเตรียมวัสดุก่อสร้าง
    • ใช้เป็นกรณีศึกษาตัวอย่าง เพื่อทำการวางแผนงานก่อสร้างโครงการที่จะดำเนินการในอนาคตให้มีความสอดคล้องและใกล้เคียงกับการสภาพทำงานจริงมากยิ่งขึ้น



1 ความคิดเห็น:

  1. สมัย เหมมั่น ไทยซีเนี่ยร์คอมเพล็กซ์ โครงการคอนโดมิเนี่ยมและซีเนี่ยร์คอมเพล็ก กรณีศึกษา โครงการเพื่อ สหกรณ์ออมทรัพย์ ครูและข้าราชการฯ

    ตอบลบ